สระในภาษาไทย

เมื่อตอนเด็กๆ เคยท่องจำกันไหมครับว่า “สระมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง” ท่องกันแบบงูๆ ปลาๆ

ผมรู้ว่า ๓๒ เสียงมีอะไรบ้าง เพราะว่าต้องท่องสระ แต่ว่า ๒๑ รูปมารู้ตอน ม.๑ แล้ว ว่าแต่ละรูปมีชื่อเรียกอย่างไร ผสมกันแล้วได้อะไร

ต่อมาได้อ่านเจอกว่า สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๒๑ เสียง…

อ้าว…เกิดอะไรขึ้น จึงได้ค้นคว้าหาคำตอบมาฝากกันนะครับ

 

สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป

รูปสระ

ชื่อ

รูปสระ

ชื่อ

๑. ะ วิสรรชนีย์ ๑๒. ใ ไม้ม้วน
๒. อั ไม้หันอากาศ ๑๓. ไ ไม้มลาย
๓. อ็ ไม้ไต่คู้ ๑๔. โ ไม้โอ
๔. า ลากข้าง ๑๕. อ ตัว ออ
๕. อิ พินทุ์อิ ๑๖. ย ตัว ยอ
๖. ่ ฝนทอง ๑๗. ว ตัว วอ
๗. อํ นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง ๑๘. ฤ ตัว รึ
๘. “ ฟันหนู ๑๙. ฤๅ ตัว รือ
๙. อุ ตีนเหยียด ๒๐. ฦ ตัว ลึ
๑๐. อู ตีนคู้ ๒๑. ฦๅ ตัวลือ
๑๑. เ ไม้หน้า    

 

 

สระมี ๒๑ เสียง

สระเดี่ยว

สระประสม

สระเกิน

สระที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเพียงส่วนเดียว) (สระที่เกิดจากการ เคลื่อนไหวของลิ้นทั้งส่วนหน้า – กลางและหลัง ทำให้รูปริมฝีกปากเปลี่ยนไป) (สระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่)
๑. อะ ๑๙. อัว ๒๕. อำ
๒. อา ๒๐. เอีย ๒๖. ใอ
๓. อิ ๒๑. เอือ ๒๗. ไอ
๔. อี ๒๘. เอา
๕. อึ ๒๒. อัวะ ๒๙. ฤ
๖. อือ(เมื่อใช้สระอือ ต้องมี อ ตามหลัง) ๒๓. เอียะ ๓๐. ฤๅ
๗. อุ ๒๔. เอือะ ๓๑. ฦ
๘. อู  สระ เสียงสั้นของสระประสมทั้งสาม นักภาษาศาสตร์จัดให้เป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงสระประสมที่เป็นเสียงยาวสั้น เป็นคู่ๆ เนื่องจากไม่ว่าจะออกเสียงคำที่มีสระประสมแต่ละคู่เป็นเสียงสั้นหรือเสียง ยาวก็ไม่ทำให้ความหมายแตกต่างกัน ๓๒. ฦา
๙. เอะ  
๑๐. เอ  
๑๑. แอะ  
๑๒. แอ  
๑๓. โอะ  
๑๔. โอ  
๑๕. เอาะ  
๑๖. ออ  
๑๗. เออะ  
๑๘. เออ  

ราชบัณฑิตยสถานได้ตอบข้อสงสัยนี้มากับหนังสือที่ รถ ๐๐๐๔/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ ครับ

เผื่อเวลาได้ตอบคำถามนักเรียนนะครับผม

 

เพิ่มเติมเรื่องการประสมรูปสระนะครับ

สระรูปเดียวได้แก่  ะ  อั  อ็  า  อิ  อุ  อู  เ  ใ  ไ  โ  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ

สระ ๒ รูปได้แก่

เสียงสระ เกิดจาก รูปสระ
อี เกิดจาก พินทุ์อิ + ฝนทอง
อึ เกิดจาก พินทุ์อิ + หยาดน้ำค้าง (นฤคหิต)
อื เกิดจาก พินทุ์อิ + ฟันหนู
เ-ะ เกิดจาก ไม้หน้า + วิสรรชนีย์
เอ็- เกิดจาก ไม้หน้า + ไม้ไต่คู้
แอ เกิดจาก ไม้หน้า + ไม้หน้า
โ-ะ เกิดจาก ไม้โอ + วิสรรชนีย์
เ-อ เกิดจาก ไม้หน้า + ตัว อ
อัว เกิดจาก ไม้หันอากาศ + ตัว ว
-ำ เกิดจาก หยาดน้ำค้าง + ลากข้าง
เ-า เกิดจาก ไม้หน้า + ลากข้าง
สระ ๓ รูปได้ แก่
แ-ะ เกิดจาก ไม้หน้า+ไม้หน้า + วิสรรชนีย์
อัวะ เกิดจาก ไม้หันอากาศ+ ตัว ว + วิสรรชนีย์
เ-อะ เกิดจาก ไม้หน้า + ตัว อ + วิสรรชนีย์
เ-าะ เกิดจาก ไม้หน้า + ลากข้าง + วิสรรชนีย์
สระ ๔ รูปได้ แก่
เอีย เกิดจาก ไม้หน้า + พินทุ์อิ + ฝนทอง+ตัว ย
เอือ เกิดจาก ไม้หน้า + พินทุ์อิ + ฟันหนู+ตัว อ
สระ ๕ รูปได้ แก่
เอียะ เกิดจาก ไม้หน้า + พินทุ์อิ + ฝนทอง+ตัว ย+ วิสรรชนีย์
เอือะ เกิดจาก ไม้หน้า + พินทุ์อิ + ฟันหนู+ตัว อ + วิสรรชนีย์

ที่มาบางส่วนจาก

http://www.meeboard.com/view.asp?user=tipprapan&groupid=2&rid=13&qid=2

 

  1. ขอบคุณมากค่ะ
    หานานมากกว่าจะเจอ อิอิ 🙂

  2. สระเสียงประสมสั้นยาว ที่นักภาษาศาสตร์จัดให้เป็นหน่วยเสียงเดียวกัน (ความรู้ระดับปริญญา) แต่เด็กระดับประถม/มัธยม จะเข้าใจยากกว่าเพราะเด็ก ๆ ไม่เข้าใจหลักของภาษาศาสตร์ และจะว่าไปแล้วสระเสียงประสมสั้นยาวก็มีคำเปรียบต่างให้เห็นอยู่ ถึงน้อยนิดก็ยังมีอยู่ เช่น ผัวะ กับ ผัว ๒ คำนี้ต่างกันทางความหมายอย่างชัดเจน แค่อยากเล่าสู่กันฟังคะ

  3. ครูขวัญ บ้านนา

    หลายตำรานะครับ พระยาอุปกิตว่า 21 รูป 32 เสียง ราชบัณฑิตบอก 36 รูป 21 เสียง แล้วนี่่ของใครอีกครับ 21 รูป 21 เสียง ถามกระทรวงบอกให้ใช้ของราชบัณฑิต ตกลงจะใช้แบบไหน

  4. ไก่ทอด มีรูปสระกี่รูป

  5. ครูวงค์จันทร์

    ไก่ทอด แค่ 2 รูป ค่ะ ส่วน ‘ทำหน้าที่เป็นวรรณยุกต์ไม้เอกค่ะ ไม่ใช่เป็นฝนทอง

  6. ครูวงค์จันทร์

    จะทำผลงาน คศ.3 อย่างนี้ต้องสอนเด็กว่าสระมีกี่เสียงกันแน่คะ เพราะถ้ายึดตามประกาศราชบัณฑิต เด็กอาจงง เพราะในความเป็นจริงคำที่มีเสียงต่างกันเห็น ๆ ก็มีมาก สระเกิน 8 เสียงก็ต้องอธิบายอย่างละเอียดยิบซินะ เด็กงงตายเลย ..เราเป็นครูยังงง…

  7. สุวัฒนา หวานสนิท

    เห็นด้วยค่ะ ผัวะ กับ ผัว ต่างกันชัดเจน ทั้งเสียงและความหมาย ยังอีกหลายคำ เปี๊ย กับ เปี๊ยะ มันเหมือนกันตรงไหน งง

ส่งความเห็นที่ เเม่จิงโจ้น้อย:) ยกเลิกการตอบ