การใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไปทำให้เชื้อโรคดื้อยา

ปัญหาเรื่องการติดเชื้อซึ่งรักษาได้ยากขึ้นเพราะ เชื้อแบคทีเรียดื้อยานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุข กล่าวโทษว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป เชื้อโรคจึงดื้อยา

แต่มีไม่น้อยที่กล่าวโทษว่า สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งนั้นมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์เนื้อที่เป็นอาหารของมนุษย์ เพื่อป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์นั้นๆ

เมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว แพทย์ในยุโรปพบว่า ยาปฏิชีวนะ Vancomycin ซึ่งยาแรงมากชนิดหนึ่งเริ่มใช้ไม่ได้ผล

นักวิจัย Niels Frimodt-Moller ของสถาบัน Danish State Serum กล่าวในการให้สัมภาษณ์ที่กรุงวอชิงตันเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะแบบ Vancomycin กันอย่างแพร่หลายในตอนนั้น

นักวิจัยผู้นี้กล่าวว่า อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในยุโรปในตอนนั้นใช้ยาชนิด นี้กันหลายร้อยตัน และยืนยันว่าผลการศึกษาวิจัยหลายรายเชื่อมโยงการใช้ยาปฏิชีวนะแบบ Vancomycin เป็นยากระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ กับการที่เชื้อแบคทีเรียในมนุษย์ดื้อยาประเภทนี้

ประเทศเดนมาร์คประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะที่ว่านี้ในการเลี้ยงปศุสัตว์เมื่อ ค.ศ.1996 และพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยานี้ลดลงในสัตว์และเนื้อ สัตว์ ต่อจากนั้นมาสหภาพยุโรป หรือ EU ได้ประกาศห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะอีกหลาย ชนิดในการเลี้ยงปศุสัตว์

แต่นักวิจัยในสหรัฐฯ อย่าง Rich Carnevale ของสถาบันอนามัยสัตว์ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในสหรัฐฯ ไม่เชื่อว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยา เพราะไม่เห็นว่าการห้ามใช้ยาดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในอัตราเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในมนุษย์

นักวิจัย Rich Carnevale ของสถาบันอนามัยสัตว์ในสหรัฐฯ กล่าวว่า ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และยังกล่าวไว้ด้วยว่าเมื่อเลิกใช้ยานี้ในการเลี้ยงสัตว์ ปรากฏว่าสัตว์เจ็บป่วยมากขึ้น ซึ่งทำให้ชาวไร่ชาวนาในเดนมาร์คต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาสัตว์มากกว่าที่เคยทำกันมา

รายงานขององค์การอนามัยโลกที่มีออกมาเมื่อปี ค.ศ. 2003 สนับสนุนการตัดสินใจห้ามใช้ยาปฏิชีวนะของเดนมาร์ค โดยให้เหตุผลว่า การลดการดื้อยาโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ดีเพราะเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาสามารถแพร่ลักษณะเฉพาะนั้น ไปให้เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ได้ แต่รายงานฉบับนี้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อมนุษย์นั้นจะต้องหาข้อมูลเพิ่มขึ้นก่อน.

ที่มา: http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=24151

  1. เยี่ยมมากครับคุณครู ^^

ใส่ความเห็น