Category Archives: ภาษาไทย

จตุราคารแห่งสำโรงทาบวิทยาคม

ปฐมนิรมิต ทวีวิทยา ตติยาธำรง จตุรงครังสรรค์

สี่คำนี้คืออะไร คลิกอ่านได้ครับ จตุราคารแห่งสำโรงทาบวิทยาคม

วิลิศมาหรา

ระหว่างนั่งรถ…ได้ยินนักเรียนถามกันเรื่องคำว่า “วิลิศมาหรา” เป็นภาษาอะไร…ไอ่เราก็เลยสงสัย และตอบตัวเองว่า คงเป็นภาษาอินเดียมั้ง…แล้วก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถามพี่กูดีกว่า…แล้วก็พบว่า “ราชบัณฑิตยสถาน” ได้ตอบไว้ให้เราแล้วครับ

คำว่า วิลิศมาหรา (อ่านว่า วิ-ลิด-สะ-มา-หฺรา) เป็นคำชวาที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องอิเหนา (อ่านว่า อิ-เหฺนา) วิลิศมาหราเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อยู่นอกเมืองดาหาไปทางตะวันออก ต้องเดินทางวันหนึ่งจึงจะถึงภูเขาวิลิศมาหรามีศาลเทพารักษ์ที่เป็นทองทั้งหลัง และประดับประดาด้วยลวดลายฉลุงดงามอลังการ บริเวณโดยรอบมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

ในภาษาไทย คำว่า วิลิศมาหรา ใช้ในความหมายว่า สวยงามอย่างหรูหรา เช่น การแสดงบนเวทีเมื่อคืนนี้แต่ละชุดวิลิศมาหราจริง ๆ  ความหมายนี้น่าจะได้มาจากลักษณะสวยงามอลังการของภูเขาวิลิศมาหรา หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นเพราะมีเสียงคำว่า “หรา” พ้องกับคำว่า “หรูหรา” ก็ได้

ขอแถมสำนวนจากเรื่องอิเหนาด้วยเลยนะครับ

.ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง สำนวนนี้มีความหมายว่า ตีแต่ว่าคนอื่นเขา แต่ตัวเองกลับทำเสียเอง มาจากวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตามเนื้อเรื่องกล่าวว่า อิเหนาหมั้นกับบุษบาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และไม่เคยเห็นหน้ากัน เพราะอยู่คนละเมือง ต่อมาอิเหนาไปได้เมียที่เมืองอื่น เมื่ออิเหนาถูกฝ่ายหญิงเร่งเร้าให้แต่งงาน ตามที่หมั้นกันไว้ กลับบอกพ่อของฝ่ายหญิงว่า จะยกบุษบาให้ใครก็ตามใจเถิด ในที่สุดอิเหนาก็ได้พบหน้าบุษบา ก็หลงรักนางทันที และถึงกับบุกชิงตัวนางบุษบาไป ทั้ง ๆ ก่อนหน้าได้เคยดูหมิ่นคนที่มาติดพันนางบุษบาว่า โง่
การกระทำของอิเหนา จึงเข้ากับสำนวนที่ว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”

๒. คู่ตุนาหงัน      แปลว่า คู่หมั้น

๓.. อย่า มาดูผี อิเหนานั้น ไม่อยากจะจาก นางจินตราวาตีไปเลย แต่ก็ขัด คำสั่งพ่อไม่ได้ เพราะพ่อกำชับมาว่า หากไม่ยกทัพไปช่วย ก็ตัดพ่อตัดลูก ไม่ต้องเผาผีกันอีก

“หากแม้นมิยกพลไกรไปช่วย
ตัวเราม้วย ก็อย่า มาดูผี
อย่าดูแม้เปลวอัคคี
ต่อแต่นี้ขาดกันจนบรรลัย ”

ที่มา :

สระในภาษาไทย…จำนวนเท่าไร? กี่รูปกี่เสียง???

เมื่อตอนเด็กๆ เคยท่องจำกันไหมครับว่า “สระมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง” ท่องกันแบบงูๆ ปลาๆ

ผมรู้ว่า ๓๒ เสียงมีอะไรบ้าง เพราะว่าต้องท่องสระ แต่ว่า ๒๑ รูปมารู้ตอน ม.๑ แล้ว ว่าแต่ละรูปมีชื่อเรียกอย่างไร ผสมกันแล้วได้อะไร

ต่อมาได้อ่านเจอกว่า สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๒๑ เสียง…

(ภาพจาก: http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS_OY8QIt-lpHL_VdxWcKtqbQJWGtfNnz-IHwyA9AG1XxNXu3UXdX3Fkjcz-A)

อ้าว…เกิดอะไรขึ้น จึงได้ค้นคว้าหาคำตอบมาฝากกันนะครับ

คลิกเพื่ออ่านต่อครับผม

สรรภาษา: โคลงจัตวาทัณฑี

ว่าด้วยเรื่องเจ้าบทเจ้ากลอนนั้น คนไทยฉมังนัก ไม่ว่าจะเป็นศรีปราชญ์ เจ้าฟ้ากุ้ง รัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ฯลฯ

นอกจากจะมีกวีเยอะแล้ว ยังมีประเภทของบทกวีอีกมากมาย ทั้งโคลง ฉัน กาพย์ กลอน ร่าย แต่ละประเภทก็แยกย่อยไปอีกเยอะแยะมากมาย

วันนี้ขอนำเสนอโคลงชนิดหนึ่งที่มักไม่ค่อยมีใครรู้จัก ส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงโคลงก็มันจะนึกถึงโคลงสี่สุภาพ เป็นหลัก ยังมีโคลงสี่อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการใช้กัน คือ “โคลงจัตวาทัณฑี

โึคลงจัตวาทัณฑีเป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากโคลงสี่สุภาพ หรือโคลงสี่ชนิดอื่น (???) อย่างไร คลิกไปอ่านเรื่องโคลงจัตวาทัณฑีต่อเลยครับ

ขอบคุณที่แวะมาเล่้นด้วยนะครับ
ครูอั๋น

เจ้าชู้ประตูดิน

คนสมัยก่อนเวลาเขาจะว่ากัน เขาก็จะว่าด้วยคำสุภาพ รู้จักเปรียบเปรย
เหมือนจะว่าผู้ชายว่าเจ้าชู้ ก็ไม่เจ้าชู้เปล่า ต้อง “เจ้าชู้ประตูดิน

ทำไมต้องประตูดิน ประตูอื่นไม่ได้หรือ

ไม่ได้ครับ ต้องประตูดิน
เพราะมันมีที่มาที่ไปของมันครับ

คลิก “เจ้าชู้ประตูดิน” เพื่ออ่านต่อเลยครับผม

ครูอั๋น